เมนู

ท้าวสวัตตี ท่านกำจัดมลทิน คือความตระหนี่
พร้อมด้วยรากแล้ว อันใคร ๆ ไม่ติเตียนได้ จัก
เข้าถึงโลกสวรรค์.

จบ นันทาเปติวัตถุที่ 4

อรรถกถานันทาเปติวัตถุที่ 4



เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภนางเปรตชื่อว่า นันทา จึงตรัสคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กาฬี ทุพฺพณฺณรูปาสิ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถีนัก
ยังมีอุบาสกคนหนึ่ง ชื่อว่า นันทิเสน เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส.
ส่วนภริยาของเขา ชื่อว่า นันทา ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส
เป็นคนตระหนี่ ดุร้าย กล่าววาจาหยาบ ไม่เคารพยำเกรงสามี
ด่าบริภาษแม่ผัว ด้วยวาจาว่าเป็นโจร. สมัยต่อมานางนันทานั้น
ทำกาละแล้ว ไปบังเกิดในกำเนิดเปรต แสดงตนในที่ไม่ไกลหมู่บ้าน
นั้นนั่นเอง. นันทิเสนอุบาสกเห็นนางนั้น จึงได้กล่าวคาถาว่า :-
ท่านมีผิวพรรณดำ มีรูปร่างน่าเกลียด ตัว
ขรุขระดูน่ากลัว มีตาเหลือง มีเขี้ยวงอกออก
เหมือนหมู เราไม่เข้าใจว่า ท่านจะเป็นมนุษย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬี แปลว่า มีสีดำ. จริงอยู่
วรรณะของนางเปรตนั้น เป็นเสมือนถ่านที่ถูกเผาแล้ว. บทว่า

ผรุสา ได้แก่ มีตัวขรุขระ. บทว่า ภีรุทสฺสนา แปลว่า น่าสะพึงกลัว
คือ มีอาการน่ากลัว. บาลีว่า ภารุทสฺสนา ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า
เห็นเข้าน่ากลัวอย่างหนัก คือ ไม่น่าดู เพราะมีผิวพรรณน่าเกลียด
เป็นต้น. บทว่า ปิงฺคลา แปลว่า ผู้มีนัยน์ตาเหลือง. บทว่า กฬารา
ผู้มีเขี้ยวเหมือนหมู. บทว่า น ตํ มญฺญานิ มานุสึ ความว่า เราไม่
สำคัญท่านว่าเป็นมนุษย์ แต่เราสำคัญท่านว่า เป็นนางเปรต.
นางเปรตได้ฟังดังนั้น เมื่อจะประกาศตนจึงกล่าวคาถาว่า :-
ท่านนันทิเสน เมื่อก่อนดิฉันชื่อนันทา
เป็นภรรยาของท่าน ได้ทำกรรมชั่วไว้ จึงจาก
มนุษยโลกนี้ ไปสู่เปตโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น. บทว่า อหํ นนฺทา นนฺทิเสน ความว่า
พี่นันทิเสนขา ดิฉันชื่อว่า นันทา. บทว่า ภริยา เต ปุเร อหุํ ความว่า
ในชาติก่อน ดิฉันได้เป็นภรรยาของพี่. เบื้องหน้าแต่นี้ไป อุบาสก
นั้นจึงถามว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา
ใจ เพราะวิบากของกรรมอะไร ท่านจึงจาก
มนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

ลำดับนั้นนางเปรต จึงได้ตอบกะนันทิเสนอุบาสกว่า
ดิฉัน เป็นหญิงดุร้าย มีวาจาหยาบคาย ไม่
เคารพพี่ กล่าวคำชั่วหยาบกะพี่ จึงจากมนุษยโลก
นี้ ไปสู่เปตโลก.

นันทิเสนอุบาสก จึงถามอีกว่า :-
เอาเถอะ เราจะให้ผ้านุ่งแก่เจ้า เจ้าจงนุ่งผ้า
นี้ ครั้นนุ่งผ้านี้แล้ว จงมา ฉันจะนำเจ้าไปสู่เรือน
เจ้าไปเรือนแล้ว จักได้ผ้า ข้าว และน้ำ ทั้งจักได้
ชมบุตรและลูกสะใภ้ของเธออีกด้วย.

ลำดับนั้น นางเปรตจึงได้กล่าวคาถา 2 คาถา แก่นันทิเสน
อุบาสกนั้นว่า :-
ผ้านั้น ถึงพี่จะให้ที่มือของฉัน ด้วยมือ
ของพี่เอง ก็ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ฉันได้ ขอพี่
จงเลี้ยงดูภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ผู้
ปราศจากราคะ ผู้เป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าว
และน้ำ แล้วอุทิศส่วนบุญไปให้ดิฉัน เมื่อท่านทำ
อย่างนั้น ดิฉันจักมีความสุข สำเร็จความปรารถนา
ทั้งปวง.

ลำดับนั้น พระสังคีติกาจารย์ กล่าว 4 คาถานี้ว่า :-
นันทิเสนอุบาสก รับคำแล้ว ได้ให้ทาน
เป็นอันมาก คือข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และ
เสนาสนะ ร่ม ของหอม ดอกไม้ และรองเท้า
หลากชนิด เลี้ยงดูภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วย
ศีล ปราศจากราคะเป็นพหูสูต ให้อิ่มหนำด้วยข้าว
และน้ำแล้ว อุทิศส่วนบุญไปให้นางในทันตาเห็น

วิบาก คือข้าว เครื่องนุ่งห่ม และน้ำดื่ม ก็เกิดขึ้น
นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ลำดับนั้น นางเปรตมี
ร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอย่างดี มีค่ายิ่ง
กว่าผ้าแคว้นกาสี ประดับด้วยวัตถาภรณ์อันวิจิตร
เข้าไปหาสามี.

ต่อแต่นั้น เป็นคาถากล่าวโต้ตอบระหว่างอุบาสกกับนางเปรต
ว่า :-
ดูก่อน เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก
ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่ ดุจดาวประกาย
พรึก ท่านมีวรรณะงดงามเช่นนี้ เพราะกรรม
อะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะ
กรรมอะไร และโภคะทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นที่
พอใจ เกิดขึ้นแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูก่อน
เทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก เราขอถามท่าน เมื่อ
เป็นมนุษย์ ท่านทำบุญอะไรด้วย ท่านมีอานุภาพ
รุ่งเรืองและมีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศอย่างนี้
พี่นันทิเสน เมื่อก่อนดิฉันชื่อนันทา
เป็นภริยาของท่าน ได้ทำกรรมชั่วช้า จึงจาก
มนุษยโลกนี้ไปสู่เปตโลก ดิฉันได้อนุโมทนา
ทานที่ท่านให้แล้ว จึงไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ ก่อน
คฤหบดี ขอท่านพร้อมด้วยชาติทั้งปวง จงมีอายุ

ยืนนานเถิด ดูก่อนคฤหบดี ท่านประพฤติธรรม
และให้ทานในโลกนี้แล้ว จะเข้าถึงถิ่นฐานอันไม่
เศร้าโศก ปราศจากธุลี ปลอดภัย อันเป็นที่อยู่
ของท้าววสวัตตี กำจัดมลทินคือความตระหนี่
พร้อมทั้งราก ใคร ๆ ไม่ติเตียนได้ จักเข้าถึง
โลกสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานํ วิปุลมากิริ ความว่า ท่าน
พึงยังมหาทานให้เป็นไป ในเขตแห่งพระทักขิไณยบุคคล เหมือน
หว่านพืชคือไทยธรรม. คำที่เหลือ เหมือนเรื่องที่ถัดกันมานั่นแล.
นางเทพธิดานั้น ครั้นประกาศทิพยสมบัติของตน และเหตุแห่ง
ทิพยสมบัตินั้น แก่นันทิเสนอุบาสกอย่างนี้แล้ว จึงได้ไปยังสถานที่
อยู่ของตนตามเดิม. อุบาสกแจ้วเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ
ทั้งหลาย จึงกราบทูล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมแก่
บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้น ได้มีประโยชน์แก่มหาชน
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถานันทาเปติวัตถุที่ 4

5. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ


พราหมณ์ถามว่า
[102] ท่านตกแต่งร่างกาย ใส่ต่างหูเกลี้ยง ฯลฯ
(เหมือนในมัฏฐกุณฑลีวิมานที่ 9 สุนิกขิตตวรรค
ที่ 7 ในวิมานวัตถุ)
จบ มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ 5

อรรถกถามัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุที่ 5



เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภมัฏฐกุณฑลีเทพบุตร จึงตรัสคำเริ่มต้นว่า อลงฺกโต
มฏฺฐกุณฺฑลี ดังนี้. ข้อที่จะพึงกล่าวในเรื่องมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่านได้
กล่าวไว้แล้วในอรรถกถา มัฏฐกุณฑลีวิมานวัตถุ ในอรรถกถา
วิมานวัตถุ ชื่อ ปรมัตถทีปนี เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าว
ไว้ในอรรถกถาวิมานวัตถุนั้นนั่นแหละ.
ก็ในที่นี้ เรื่องของมัฏฐกุณฑลีนั้น ท่านยกขึ้นรวบรวมไว้ใน
บาลีวิมานวัตถุ เพราะมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรเป็นเทวดาในวิมานก็จริง
ถึงกระนั้น เพราะเหตุที่เทพบุตรนั้น เพื่อจะกำจัดความเศร้าโศกของ
อทินนปุพพกะพราหมณ์ ผู้ไปป่าช้า เดินเวียนรอบป่าช้าร้องไห้